หน้าเว็เข้าก่อน(เค้าก่อน) - Bie The Ska feat.จีโน่ Bie The Ska Bie The Ska บ

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เมืองเก่าสุโขทัย

                                                     ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เมืองเก่าสุโขทัย
                                                      อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ห่างจากตัวจังหวัดสุโขทัยไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๑๒ กิโลเมตร ถนนจรดวิถีถ่อง ทางหลวงหมายเลข 12  สายสุโขทัย-ตาก
ในอดีตเมืองสุโขทัยเคยเป็นราชธานีของไทยมีความเจริญรุ่งเรือง เป็นศูนย์กลางการปกครอง ศาสนา และเศรษฐกิจ ภายในอุทยานฯ มีสถานที่สำคัญที่เป็นพระราชวัง ศาสนสถาน โบราณสถาน โดยมีคูเมือง กำแพงเมือง และประตูเมืองโบราณล้อมรอบอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส
                บริเวณพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยครอบคลุมพื้นที่กว่า 70 ตารางกิโลเมตร และมีโบราณสถานสำคัญที่น่าชมมากมาย
อัตราค่าเข้าชม  นักท่องเที่ยว ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท หรือสามารถซื้อตั๋วรวมได้ ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท โดยบัตรนี้สามารถเข้าชมอุทยานฯ ต่าง ๆ ในจังหวัดสุโขทัยได้ ภายในระยะเวลา 30 วัน เปิดให้ เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 06.00-21.00 น. (ปิดจำหน่ายบัตรเวลา 18.00 น.) หมายเหตุ ตั้งแต่เวลาประมาณ 19.00-21.00 น.  จะมีการส่องไฟชมโบราณสถาน 
 ในกรณีที่นำยานพาหนะเข้าเขตโบราณสถานจะต้องเสียค่าธรรมเนียมอีกด้วย และที่บริเวณลานจอดรถของอุทยานฯ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวมีบริการ รถราง นำชมรอบ ๆ บริเวณอุทยานฯ อัตราค่าบริการ นักท่องเที่ยว ชาวไทย 10 บาท   ชาวต่างชาติ 20 บาท นอกจากนั้นที่บริเวณด้านหน้าอุทยานฯ มีบริการ รถจักรยาน ให้เช่าในราคาคันละ 20 บาท
                กรณีเข้าชมเป็นหมู่เป็นคณะ และต้องการวิทยากรนำชม หรือนักท่องเที่ยวที่ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม  ติดต่อได้ที่ ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย 64210 โทร. 0-5569-7310
การเดินทาง  จากตัวเมืองสุโขทัย นักท่องเที่ยวสามารถนั่งรถประจำทางสายเมืองเก่า (รถสองแถว) มีรถออกทุก 20 นาที จอดรอบบริเวณท่ารถใกล้ป้อมยามตำรวจมาลงที่หน้าอุทยานฯ มีรถออกทุก 20 นาที

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2559

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การเลี้ยงไก่ไข่ ลงทุนเท่าไร สำหรับฟาร์มไก่ไข่ขนาดเล็ก 100 ตัว -500 ตัว

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูป ไก่ไข่

เลี้ยงไก่ไข่ ลงทุนเท่าไหร่ สำหรับฟาร์มไก่ไข่ขนาดเล็ก 100 ตัว - 500 ตัว

การเลี้ยงไก่ไข่ที่จำนวนตั้งแต่ 100 ตัว จนถึง 500 ตัว จะเป็นการทำฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่ขนาดเล็ก ถือได้ว่าจำนวนไม่มากมายนัก เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังฝึกหัด เริ่มต้นเรียนรู้ และต้องการศึกษาการเลี้ยงไก่ไข่ เพื่อจะได้เรียนรู้ประสบการณ์และเข้าใจในการเลี้ยงไก่ไข่มากขึ้น เมื่อเกิดความชำนาญแล้วจึงค่อยๆเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ตามงบประมาณที่จะขยับขยายต่อไป จนถึงเป็นฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่ขนาดใหญ่

มาถึงคราวนี้หลายคนคงอยากรู้แล้วว่า การเลี้ยงไก่ไข่ที่จำนวนไก่ไข่สาว 100-500 ตัวจะต้องใช้เงินในการลงทุนเท่าไหร่ ในที่นี่ขอยกตัวอย่างการเลี้ยงไก่ไข่ที่จำนวน 500 ตัว แบบกรงตับ ชั้นก่อนนะคะ ส่วนที่จำนวนอื่นๆ ราคาก็จะถูกลงกว่านี้ตามลำดับค่ะ

องค์ประกอบสำหรับการลงทุนเลี้ยงไก่ไข่

ขนาดและลักษณะโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่: สำหรับไก่ไข่ที่มีอายุ สัปดาห์ขึ้นไป แนะนำให้เลี้ยง 5-6 ตัว ต่อพื้นที่  1 ตารางเมตร ดังนั้นที่จำนวนไก่ไข่สาว 500 ตัว จะต้องใช้โรงเรือนขนาด 6x14 = 84 ตร.(โรงเรือนสูงตั้งแต่ 2.5 เมตรขึ้นไป เพื่อความโล่งและอากาศถ่ายเทสะดวก) หลังคาสำหรับกันแดดและฝนที่ทำมาจาก กระเบื้อง สังกะสี หรือใบจาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับงบประมาณ และอุปกรณ์ที่หาได้สะดวกในท้องถิ่นนั้นๆ ราคาประมาณ 35,000 บาท

ค่าอุปกรณ์เลี้ยงไก่: รวมทั้ง กรงตับ 2 ชั้น รางน้ำ รางอาหาร คิดเฉลี่ย 65 บาทต่อตัว ดังนั้น = 500 x 65 = 32,500 บาท

ราคาไก่ไข่พันธุ์สาว: ไก่ไข่สาว 16 สัปดาห์ ปัจจุบันราคาตัวละ 185 บาท คิดที่ 500 ตัว ประมาณ 92,500 บาท

ค่าอาหารไก่ไข่: ไก่สาวที่มีอายุ 16 สัปดาห์ ต้องการอาหารประมาณ 120 กรัมต่อตัวต่อวัน ดังนั้น วันจะเสียค่าใช้จ่ายสำหรับอาหาร = 120g x 500 ตัว = 60,000 กรัม หรือ 60 กิโลกรัมๆละ 15 บาท ดังนั้นจะต้องจ่ายเงินค่าอาหาร = 60 กก. x 15 บาท = 900 บาท ต่อ วัน

ไก่ไข่เลี้ยงกี่เดือน: ไก่ไข่สาวนี้ต้องเลี้ยงต่อไปอีก สัปดาห์ถึงจะพร้อมออกไข่ ดังนั้น 14 วัน x 900 บาท 12,600 บาท

**ต้นทุนในการเลี้ยงไก่ไข่ และรายจ่ายทั้งหมด รวม 35,000+32,500+92,500+12,600 = 172,600 บาท**

รายได้และกำไรจากการเลี้ยงไก่ไข่

ไก่ไข่ ไข่วันละกี่ฟอง: เมื่อไก่เริ่มไข่ก็จะทำให้เริ่มมีรายได้จากการขายไข่ไก่ 85% ของแม่ไก่ทั้งหมด ดังนั้นคิดจำนวนแม่ไก่ที่สามารถออกไข่ได้ = 500 x 0.85 = 425 ตัว ซึ่งไก่ไข่สามารถออกไข่วันละ ฟอง แล้วขายราคาฟองล่ะ บาท ดังนั้นคิดรายได้จากการขายไข่ = 425ตัว x 3 บาท = 1,275 บาท/วัน

หากหักรายจ่ายค่าอาหารออก  1,275 - 900 = 375 บาท/วันดังนั้นกำไรต่อเดือน = 11,250 บาท ก็ถือว่าพอใช้ได้สำหรับเป็นอาชีพเสริมค่ะ ถ้าประสบผลสำเร็จแบบนี้แล้ว แนวคิดทำโรงเรือนขนาดเดียวกันเพิ่มอีกสัก 1 โรงเรือน รวมทั้งหมด 1,000 ตัว ดังนั้นรายได้เฉลี่ยต่อเดือน = 22,500 บาท พอเห็นมองเห็นตัวเลขคร่าวๆแล้วนะคะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเอาใจใส่ และตั้งใจดูแล เลี้ยงไก่ไข่ให้สมบูรณ์ เพื่อการออกไข่เป็นประจำ สม่ำเสมอ อีกทั้งมองหาหนทางลดต้นทุน ทางด้านอาหาร เนื่องจากจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายส่วนนี้เป็นรายวัน ก็จะช่วยส่งเสริมให้ได้กำไรเพิ่มมากขึ้นค่ะ
สำหรับไก่ไข่ปลดระวาง จะเป็นไก่ไข่ที่ให้ไข่ติดต่อกันประมาณ ปี (12 เดือน) ปรกติจะออกไข่ประมาณ 280 ฟอง/ปี สามารถสังเกตได้ง่ายคือจะให้ไข่น้อยกว่า 60% ของรุ่นหรือล็อตเดียวกัน สามารถมีรายได้จากการส่งขายเป็นไก่เนื้อได้ ดังนั้นควรหาไก่ไข่สาวมาทดแทนเพื่อผลผลิตที่ต่อเนื่องต่อไป ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ ยังคงสามารถใช้งานได้ต่อไปเหมือนเดิม ไม่ต้องซื้อใหม่ และเช่นกันในส่วนของไก่ไข่สาวนี้ หากสามารถเพาะพันธุ์เองได้ ก็จะช่วยลดต้นทุนส่วนนี้ลงไปได้อีกเยอะค่ะ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูป ไก่ไข่

วิธีเลี้ยงหนูแกสบี้ การอาบน้ำให้ การเลี้ยงให้เชื่อง

หากใครที่กำลังคิดจะเลี้ยงหรือเพิ่งเริ่มเลี้ยงเจ้าสัตว์หน้าขนตัวน้อยๆ ตาแป๋วๆ น่ารักๆ ขวัญใจคนรักสัตว์อย่าง "หนูแกสบี้"แล้วล่ะก็ หันมาทางนี้เล้ยยย วันนี้เรามีข้อมูลหรือเกร็ดเล็กน้อยๆเกี่ยวกับการดูแลหรือเลี้ยงเจ้าหนูน้อย แกสบี้มาฝากกัน

"หนูแกสบี้"

เรามาเริ่มต้นจากข้อมูลส่วนตัวเล็กน้อยๆเกี่ยวกับหนูแกสบี้ก่อนแล้วกันเนอะ
หนูแกสบี้ หรือชื่อที่รู้จักกันในหมู่คนส่วนใหญ่ว่า หนูเควี่ (Cavy) หรือหนูกินนี่พิก
หนูน้อยเหล่านี้มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า "Cavia porcellus"
หนูแกสบี้มีสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 5-7 ปี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับคนเลี้ยงหรือผู้เป็นเจ้าของด้วยว่าจะ สามารถเลี้ยงดูหรือให้การดูแลได้ถูกวิธีได้มากน้องแค่ไหน
ลักษณะนิสัยโดยทั่วไปของหนูแกสบี้ มีนิสัยที่เชื่องมาก จะมีเพียงส่วนกลุ่มน้อยที่ก้าวร้าว แต่นั้นไม่เป็นปัญหาสำหรับการเลี้ยงเพราะสัตว์เหล่านี้เราสามารถที่จะฝึกฝน ให้เกิดความเชื่องได้ พฤติกรรมต่างๆของหนูแกสบี้ ที่แสดงออกมาบ่งบอกถึงสภาวะอารมณ์ ของเขาว่าเขารู้สึกอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นเสียงร้อง ต่างๆ ลักษณะท่าทางต่างๆที่แสดงออกมา ซึ่งถ้าเพื่อนๆเลี้ยงและเอาใจใส่เขาก็จะรู้ได้เลยว่า สิ่งที่เขาทำนั้นเขาต้องการอะไรและเขารู้สึกอย่างไร

"วิธีการเลี้ยงดูหนูแกสบี้"

เมื่อแรกเริ่มหลังจากที่เราได้หนูแกสบี้มาแล้ว เราจะต้องทำยังไงไปดูกัน

1. การสร้างความคุ้นเคย

ผู้เลี้ยงจะต้องสร้างความคุ้นเคยกับแกสบี้ เพราะจะช่วยให้เค้าเชื่องกับเราเร็วขึ้น โดยมีวิธีดังต่อไปนี้จร้า

- การจ้องตา โดยการนำเค้ามาวางไว้บนอกและเป่าลมใส่หน้าเค้าเบาๆ และสังเกตท่าทางของเค้า ในบางครั้งเค้าจะร้องออกมา บางครั้งจะบิดหนวดไปมา บางตัวก็จะเดินมามองใกล้ๆ เอามือวางบนแก้มแล้วมองมาทางเรา แต่บางตัวจะวางบนท้องบนอกและนอนตรงนั้นทันที

- การชนจมูก เราต้องประคองหัวเค้าไว้ในมือข้างหนึ่ง และจับตัวอีกข้างนึง แล้วยกขึ้นมาตรงหน้า และถูจมูกของเค้ากับของเรา เค้าจะมีกริยาโ้ต้ตอบ เช่นอาจจะเลียจมูกเราหรือทำจมูกกระดุกกระดิกและจ้องหน้าเรา

- การจั๊กจี้ท้อง ทำได้โดยการจับเค้านอนหงาย และใช้มือเกาท้องเบาๆ เค้าจะรู้สึกเพลิดเพลิน เมื่ออยู่ในวงแขนของเรา

- การพาดไหล่ นำเค้าพาดที่ไหล่เบาๆ ใช้มือข้างหนึ่งประคองไว้ เค้าจะรู้สึกเพลิดเพลิน และมีความสุขเมื่อผู้เลี้ยงเดินผ่านมา

2.การอุ้มหนูแกสบี้

การสัมผัสหนูแกสบี้จะช่วยทำให้หนูแกสบี้เชื่องเร็ว หากหนูแกสบี้หงุดหงิด ส่วนมากสาเหตุจะมาจากเจ้าของไม่มีเวลาเล่นด้วย หนูแกสบี้ก็เหมือนกับเด็ก ต้องการความเอาใจใส่จากเจ้าของ การอุ้มหนูแกสบี้นั้นจะต้องทำอย่างนุ่มนวล เพราะแกสบี้มีนิสัยขี้ตกใจ วิธีการอุ้มมีดังนี้

1. นำหนูแกสบี้ออกจากกรง ด้วยการเอื้อมมือเข้าไปในกรง แรกๆ เค้าจะวิ่งหนีเพราะว่าเค้าตกใจและจะไปซุกอยู่มุมกรง เราก็ค่อยๆสอดมือเข้าไปข้างใต้สะโพก และใช้มืออีกข้างมาประคองบนหลังและยกตัวขึ้น

2. ในบางครั้งแกสบี้เค้าจะเริ่มถอยหลังเข้ามุม เราจะต้องรีบสอดมือเข้าไปใต้สะโพกทันที โดยให้ส่วนลำตัวของเค้าวางอยู่บนแขนของเรา ให้เอามืออีกข้างที่ประคองอยู่จับข้างบนไว้แล้วยกขึ้นทันที

3. เมื่อนำเค้าออกมาจากกรงแล้วควรวางเค้าไว้บนตัก จะทำให้เค้ารู้สึกอบอุ่น และเกิดความใกล้ชิด

แต่ถ้าแกสบี้มีอาการตกใจ เค้าจะมีเสียงร้องดังถี่ๆ เราต้องรีบเข้าไปดูและเราควรปฏิบัติต่อเค้าอย่างนุ่มนวลและเงียบๆ เพราะเค้าเป็นสัตว์ที่เชื่องและไม่ทำร้ายคน

วิธีการอุ้ม มีดังนี้

1. ใช้มือข้างที่ถนัดที่สุดกุมลำตัวเค้าจากด้านบทบริเวณขาหนีบกับช่วงอกอย่างรวดเร็ว

2. ช้อนตัวเค้าขึ้นมา โดยใ้นิ้วกดที่ด้านหลังขาหน้า ส่วนนิ้วที่เหลือใช้โอบลำตัวจนถึงปลายขาหน้า

3. ใช้มืออีกข้าช้อนก้นเค้าแลให้ขาหลังสอดเข้าไปอยู่ในร่องนิ้วมือ

4. เมื่อนำเค้าออกมาจากกรงแล้วให้วางเค้าไว้บนตัก จะช่วยให้เค้าหยุดร้องและสงบลงได้
3.การตัดเล็บ ดูฟัน และหู

การตัดเล็บ

เนื่องจากแกสบี้อยู่ในกรงที่เป็นลวดและพลาสติก จึงไม่ได้ลับเล็บ และเล็บของแกสบี้จะงอกอยู่ตลอด เมื่อยาวเกินไป อาจจะไปเกี่ยวกับซี่กรงและอาจทำให้เล็บหลุดหรือหักได้ ฉะนั้นเราจึงต้องมีการดูแลอยู่เสมอ

วิธีการตัดเล็บ

1. ใช้กรรไกรสำหรับตัดเล็บสัตว์หรือตัดเล็บคนก็ได้ ตัดให้เลยส่วนที่เป็นสีชมพูลงมาประมาณ 1 มล.

2. ควรตัดอย่างระมัดระวังอย่าให้โดนเนื้อที่เป็นสีชมพู ไม่งั้นเค้าจะเจ็บและไม่อยากตัดอีกเลย

3. จากนั้นใช้ตะไบเล็มเพื่อไม่ให้เล็บคมเกินไป

การดูแลฟัน

เราต้องดูแลฟันของแกสบี้เพื่อไม่ให้ฟันยาวเกินไป เพราะถ้ายาวเค้าจะทานอาหารไม่ได้ และถ้าไม่รีบรักษาเค้าจะตายในที่สุด เราควรมีก้อนแคลเซียมหรือไม้ลับฟันไว้ในกรง แต่เห็นเค้าพูดกันว่าก้านของหญ้าขนและหญ้าแห้งก็ช่วยลับฟัน

การดูแลหู

เราควรทำความสะอาดหูของเค้าด้วย โดยการนำคัตเติ้ลบัตเช็ดภายในหู แต่อย่าทำความสะอาดลึกเข้าไปในรูหูนะค่ะ เพราะจะทำให้เป็นอันตรายได้

4.การอาบน้ำและตัดแต่งขนหนูแกสบี้

หนูแกสบี้มีทั้งพันธุ์ขนยาว ขนสั้นและขนหยิก ซึ่งจำเป็นต้องได้ัรับการดูแลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อขนจะได้ไม่พันกัน และสวยงาม แต่สำหรับพันธุ์ขนยาวและขนหยิกต้องเอาใจใส่เรื่องขนอยู่เสมอ วิธีการดูแลรักษาขนของหนูแกสบี้มีดังนี้

การอาบน้ำ

การอาบน้ำเป็นสิ่งที่ป้องกันไม่ให้เกินโรคผิวหนังและปรสิต และทำให้ขนของแกสบี้สวยงาม ไม่เป็นแหล่งหมักหมมของเชื้อโรคไม่เป็นแหล่งของเชื้อโรค ควรอาบน้ำให้แกสบี้อย่างน้อยอาทิตย์ละครั้งหรืออาทิตย์เว้นอาทิตย์ หากไม่สกปรกมาก ให้ใช้ฟองน้ำชุบน้ำแล้วเช็ดตัว ส่วนหนูแกสบี้พันธุ์ขนยาวและขนยาวปานกลาง ต้องใช้แปรงแปรงขนก่อนอาบน้ำทุกครั้ง เพื่อกำจัดขนที่ตายแล้ว ควรตัดหรือแปรงที่พันกันเป็นกระจุกก่อนที่จะพาไปอาบน้ำ

การอาบน้ำพันธุ์ขนหยิก

สำหรับพันธุ์ขนหยิกอย่างเทกเซล มาริโน่และอัลพาคานั้น ไม่จำเป็นต้องแปรงขนก่อนอาบน้ำ เพราะจะทำให้ความหยิกลดลงได้ ก่อนอาบควรดูว่ามีขนที่ตายหรือพันกันหรือไม่ ถ้ามีให้ใช้มือแกะออกก่อนอาบน้ำทุกครั้ง

หากมีเศษอาหาร เศษดิน พันติดกันให้เอาเบบี้ออยส์หยดเพียงเล็กน้อย ขยี้ให้ความชุ่มชื้นแกเส้นขนจะช่วยทำให้เศษต่างๆหลุดออกมาส่วนขนแกสบี้ที่ เริ่มยาวและลากพื้นผู้เลี้ยงจะต้องม้วนเส้นขนเก็บได้เหมือนกันหนูแกสบี้ขน ยาว

ขั้นตอนการอาบน้ำ

1. ตักน้ำหรือใช้ผักบัวราดตั้งแต่คอลงมา ระวังอย่าให้โดนใบหู และอย่าให้เข้าตา จมูก และหู

2. เอาแชมพูมาผสมกับน้ำให้เจือจาง เทใส่มือแล้วถูทำความสะอาดบริเวณหัว ลำตัว และก้น ให้เน้นช่วงก้นเป็นพิเศษเพราะช่วงนี้จะสกปรกมาก

3. หากมีขี้ตาหรือมีอะไรเปื้อนที่หน้า ให้ใช้ผ้าหรือสำลีชุบน้ำเช็ดค่ะ

4. ล้างแชมพูออกให้หมดจนกว่าจะสะอาด จากนั้นให้ใส่ครีมนวด โดนผสมน้ำให้เจือจางถูให้ทั่วตัวทิ้งไว้ 2-3 นาที

5. ล้างครีมนวดออกให้หมด

6. นำผ้าขนหนูมาห่อตัว และเช็ดตัวหมาดๆ

7. ฉีดสเปรย์บำรุงขนและป้องกันเห็บไร จากนั้นใช้ไดร์เป่าเบาให้ทั่วตัว โดยแปรงขนไปด้วยจะช่วยทำให้แห้งไว

8. หลังจากนั้นตัดแต่งขนให้ได้ทรงและหวีให้เรียบร้อย และใส่เบบี้ออยส์เพื่อความนุ่นลื่นของขน

การตัดขน

การตัดขนมักจะทำกับแกสบี้พันธุ์ขนยาว และขนหยิก โดยจะเล็มปลายขนด้านหลัง เพื่อไม่ให้สกปรก และในช่วงอากาศร้อนก็ควรตัดเพราะเค้าจะได้ไม่ร้อน

อุปกรณ์สำหรับหวีและตัดขน

1. หวีห่างและถี่ ใช้สำหรับแปรงขน และจัดแต่งทรง

2. หวีสลิคเกอร์ ใช้แปรงขนที่ร่วง

3. กรรไกร ใช้สำหรับตัดขน

4. กิ๊บสำหรับติดขน

5. โบสำหรับมัดจุก

ขั้นตอนการตัดขน

1. หวีขนแกสบี้

2. แบ่งเป็นช่อๆ จากนั้นนำกิ๊บมาติด

3. เล็มใต้ขนอย่างระมัดระวัง และเอาขนชั้นบนลงมาคลุมขนที่เล็มเสร็จ

4. หวีขนแกสบี้บริเวณลำตัวและสะโพกให้ทั่ว

5. หลังจากนั้นดูอีกครั้งหากไม่เท่ากันให้เล็มออกจนสวยงาม

5.การตรวจสุขภาพหนูแกสบี้เบื้องต้น
หนูแกสบี้จะเจ็บป่วยได้ง่ายจากโรคพยาธิ ทางที่ดีที่สุดคือการทำความสะอาดกรงอย่างสม่ำเสมอ และดูแลความสะอาดของอาหารและน้ำดื่ม การตรวจสุขภาพแกสบี้เบื้องต้นนั้น ผู้เลี้ยงสามารถทำด้วยตนเอง หากพบความผิดปกติจะได้รักษาทัน ในการตรวจผู้เลี้ยงควรนำผ้าขนหนูมาห่อตัวแกสบี้หลวมๆ จะทำให้ง่ายต่อการตรวจ และป้องกันไม่ให้เครียด วิธีการตรวจควรเริ่มจาก หู ตา และส่วนต่างๆดังนี้

1. การชั่งน้ำหนัก

ผู้เลี้ยงควรชั่งน้ำหนักของแกสบี้อย่งสม่ำเสมอ และควรชั่งครั้งแรกและครั้งที่สองในตอนเช้า เนื่องจากน้ำหนักจะขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารที่กินเข้าไป และควรจดบันทึกไว้ทุกครั้ง และควรช่างเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์และหนึ่งครั้ง และควรเป็นตาชั่งสำหรับช่างน้ำหนักแกสบี้ ชนิดของตาชั่งน้ำหนักได้ไม่เกิน 2 กิโลกรัม

2. การตรวจสุขภาพผิวหนัง

ผิวหนังของหนูแกสบี้จะมีสีชมพู หากเป็นสีแดงเข้ม แสดงว่าเป็นเชื้อราหรือกำลังเริ่มเป็น ส่วนสะเก็ดบนผิวหนังแสดงว่าเป็นโรคผิวหนังจากเชื้อราหรือปรสิต ขนของหนูที่สุขภาพดีจะต้องอ่อนนุ่มไม่เข็.กระด้าง กลิ่นตัวสะอาดสะอ้าน ไม่มีคราบอุจจาระและไม่เหนี่ยว หากเป็นพันธุ์ขนยาว ขนจะต้องไม่พันกัน ขนแหว่ง ขนบาง ขนแตก เพราะเป็นอาการที่บ่งบอกว่าแกสบี้ตัวนี้เป็นพยาธิ และหากพบสะเก็ดลึกให้ดึงขนขึ้นมาประมาณ 2-3 เส้น จะพบว่ามีผิวหนังติดมากับรากขน และขนนั้นอาจเป็นเชื้อราหรือมีปรสิตได้ ฉะนั้นผู้เลี้ยงควรตรวจดูทุกซอกทุกมุม เมื่อพบควรรีบรักษาหรือพบสัตวแพทย์ทันที

3. การตรวจตา หู และจมูก

ตาของแกสบี้ต้องใสสะอาดไม่มีน้ำตา หูเรียบไม่เป็นสะเก็ด มีขึ้หูเล็กน้อย ไม่เกรอะกรังหรือมีน้ำหนอง และไม่มีกลิ่นเหมํนเน่า ผู้เลี้ยงควรทำความสะอาดสม่ำเสมอ ส่วนจมูกต้องไม่มีน้ำมูก

4. การตรวจสุขภาพปากแลฟัน

ผู้เลี้ยงควรจับหนูแกสบี้นอนหงายและหันปากมาทางตัว ภายในปากต้องไม่สะเก็ด ซึ่งอาจจะเป็นโรคเชื้อราภายหลังได้ โดยเฉพาะบริเวณมุมปาก ฟันต้องขาวสะอาด ไม่โยกคลอน ฟันล่างยาวกว่าฟันบนเล็กน้อย ฟันไม่ยื่นผิดปกติ หากพบว่าฟันคู่หน้ายื่นผิดปกติควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการตัดฟัน เพราะหนูแกสบี้จะกินอาหารไม่ได้และตายในที่สุด ส่วนเหงือกควรตรวจดูว่าเกิดการอักเสบหรือเปล่า สังเกตได้จากสีและกลิ่น

5. การตรวจระบบการหายใจ การเต้นของหัวใจและอุณหถูมิ

เราสามารถฟังอัตราการเต้นของหัวใจได้ด้วยการเอาหูแนบกับส่วนที่อยู่หลังขา หน้าของแกสบี้ แกสบี้มีปอดสองข้าง หากผู้เลี้ยงฟังทั้งสองข้าง อาจใช้เทอร์โมมิเตอร์ ซึ่งใช้วัดอุณหภูมิทางหูได้ 1 วินาที สำหรับเทอร์โมมิเตอร์ที่มีราคาแพง หรืออาจจะใช้เทอร์โมมิเตอร์ธรรมดาก็ได้ แต่ผู้เลี้ยงไม่ควรวัดที่ก้นเพราะเป็นอันตรายกับแกสบี้ การวัดทำได้โดย เอาแกสบี้นั่งบนตักของผู้เลี้ยง สอดปลายเทอร์โมมิเตอร์ที่ขาหนีบทิ้งไว้ประมาณ 3 วินาที จากนั้นอ่านค่าสเกลจากนั้นพวกเพิ่มอีก 1 จากที่อ่านได้

6. การตรวจเล็บเท้า

ผู้เลี้ยงควรตรวจเล็บเท้าของแกสบี้ไม่ให้ยาวเกินไป เพราะจะทำให้เิดินลำบาก ให้ตรวจดูตามนิ้วเท้าว่ามีร่องรอยของขนร่วงหรือไม่ หากพบตามง่ามขา เป็นสัญญาณบอกว่ากำลังจะเป็นโรคเรื้อน และตรวจดูตามนิ้วเท้าหรือฝ่าเท้าเพื่อหารอยด้านหรือติ่งว่ามีอาการบวมหรือ กลัดหนอง หรือไม่สำหรับติ่งควรทำการเล็มออกเป็นประจำ และตรวจหานิ้วที่เหยียดตรงหรืออ่อนนิ่ม

7. อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับแกสบี้

- ไม่กินอาหารและน้ำ

- มีน้ำมูก น้ำตาไหล และหายใจติดขัด

- ท้องเสีย น้ำหนักตัวลด

- ขนร่วงเป็นกระจุกจนเห็นผิวหนังและขนหยาบแห้ง

- ตาไม่ใส ขุ่นมัว ลืมตาไม่ขึ้นมีขี้ตา ตาปิด

-ไม่ร่าเริง ซึม ไม่ค่อยเคลื่อนไหว

หากพบอาการเหล่านี้ ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์ เพื่อทำการรักษา ถ้าปล่อยทิ้งไว้แกสบี้อาจตายได้

เห็นไหมจ๊ะว่าการดูแลสัตว์เลี้ยงตัวน้อยๆน่ารักๆไม่ได้ยากเย็นอะไรเลยเพียง แต่ต้องอาศัยความดูแลเอาใจใส่กันหน่อยเราก็จะได้สัตว์เลี้ยงที่ทั้งน่ารัก และแสนเชื่องไว้เป็นเพื่อนเล่นยามเหงาแล้ว
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง